Chef de Partie (หัวหน้าแผนกครัว) อีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในครัว

Chef de Partie (หัวหน้าแผนกครัว) อีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในครัว

 

Chef de Partie เป็นอีกตำแหน่งที่สำคัญมากในครัวอาหารระดับมืออาชีพ แปลตรงตัวว่า "หัวหน้าส่วน"  เมื่อผู้ช่วยเชฟ Commis chef หรือ Demi chef  เก็บเกี่ยวประสบการณ์และฝึกฝนทักษะมาได้ประมาณ 2-3 ปีก็จะสามารถเลื่อนขั้นมาเป็น Chef de Partie หรือ Station Chef หรือ Station Chef ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกครัว มีหน้าที่บริหารจัดการแผนกหรือสเตชันของตัวเองหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของครัวเฉพาะ 

ระดับของ Chef de Partie

โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่ง Chef de Partie จะไม่มีการแบ่งระดับย่อยเหมือนตำแหน่ง Commis แต่จะมีการแบ่งตามสถานีหรือแผนกที่รับผิดชอบ เช่น

  • Chef de Partie - Saucier หัวหน้าแผนกซอสและน้ำเกรวี่ เชฟจะที่มีหน้าที่เตรียมซอสและสตูว์ต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมการปรุงอาหารที่ต้องใช้ซอสเป็นหลัก 

  • Chef de Partie - Poissonier  หัวหน้าแผนกปลา เชฟที่ดูแลรับผิดชอบในการเตรียมและทำอาหารที่มีปลาและอาหารทะเล เช่น การทำปลาอบ, ปลาทอด เป็นต้น

  • Chef de Partie - Boucher หัวหน้าแผนกเตรียมเนื้อสัตว์ ดูแลการเตรียมเนื้อสัตว์, การหั่นเนื้อ, และการทำให้เนื้อสัตว์พร้อมใช้งานสำหรับการปรุงอาหาร

  • Chef de Partie - Rotisseur  หัวหน้าแผนกอบ-ย่าง หน้าที่ดูแลและการทำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น สเต๊ก, หมูย่าง เป็นต้น รับผิดชอบทำอาหารประเภทการย่างและอบ

  • Chef de Partie - Entremetier หัวหน้าแผนกประเภทผัด ตุ๋น หน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการเตรียมซุป, ผัก, และอาหารข้างเคียงอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายในการเตรียมและการปรุง

  • Chef de Partie - Garde Manger หัวหน้าครัวเย็น เชฟจะมีหน้าที่เตรียมอาหารต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านความร้อนในการปรุง ได้แก่ สลัด อาหารทานเล่น รวมไปถึงการเตรียมของหวานด้วยเช่นกัน

  • Chef de Partie - Pâtissier  หัวหน้าแผนกขนมหวาน ดูแลการเตรียมและทำของหวาน รวมถึงขนมปังและเบเกอรี่ เช่น เค้ก, คุกกี้

หน้าที่ความรับผิดชอบของ Chef de Partie

  • ควบคุมแผนก : ดูแลความเรียบร้อยของแผนกที่รับผิดชอบ ตรวจสอบอุปกรณ์และวัตถุดิบให้พร้อมใช้งาน

  • เตรียมและปรุงอาหาร: เตรียมวัตถุดิบและปรุงอาหารตามเมนูที่ได้รับมอบหมาย โดยต้องรักษามาตรฐานด้านรสชาติและคุณภาพ

  • ฝึกอบรมพนักงาน: สอนงานและให้คำแนะนำแก่พนักงานในสถานีที่รับผิดชอบ

  • ควบคุมคุณภาพ: ตรวจสอบคุณภาพของอาหารก่อนส่งออกไปยังส่วนหน้า

  • จัดการวัตถุดิบ: คำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ และสั่งซื้อเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น

  • รักษาความสะอาด: ดูแลความสะอาดของสถานีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

เส้นทางอาชีพของ Chef de Partie

หลังจากผ่านประสบการณ์ในตำแหน่ง Chef de Partie มานานพอสมควร ผู้ที่มีความสามารถและความมุ่งมั่นก็สามารถก้าวขึ้นไปเป็น Sous Chef (รองหัวหน้าพ่อครัว) หรือ Executive Chef (หัวหน้าพ่อครัวใหญ่) ได้

เงินเดือนของ Chef de Partie ในประเทศไทยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ขนาดและประเภทของร้านอาหาร: ร้านอาหารหรูหราระดับโรงแรมหรือร้านอาหารขนาดเล็กในห้างสรรพสินค้า เงินเดือนก็จะแตกต่างกัน

  • ประสบการณ์: ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไหร่ เงินเดือนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

  • ทักษะเฉพาะ: เช่น เชี่ยวชาญในการทำอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ ก็อาจมีผลต่อเงินเดือน

  • ทำเลที่ตั้ง: ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่หรือแหล่งท่องเที่ยว อาจมีเงินเดือนที่สูงกว่า

 

**โดยทั่วไปแล้ว เงินเดือนของ Chef de Partie ในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 - 30,000 บาทต่อเดือน แต่ก็อาจมีมากกว่านี้สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูงหรือทำงานในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น